วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

ตะไคร้

ตะไคร้
ตะไคร้ ชื่อสามัญ Lemongrass

ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)



ตะไคร้จัด จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ

สรรพคุณของตะไคร้



  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้ สามารถบรรเทาอาการปวดได้
  10. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
  12. ใช้เป็นยาแก้อาเจียน หากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
  13. ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
  14. รักษาโรคหอบหืด ด้วยการใช้ต้นตะไคร้
  15. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
  16. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
  17. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
  18. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
  19. ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
  20. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
  21. มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
  22. ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการ และรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
  23. ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
  24. ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
  25. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
  26. ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
  27. ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
  28. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
  29. ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น