วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

แถบเครื่องมือพื้นฐานของ Google SketchUp

แถบเครื่องมือ Google SketchUp 

  • การปรับแต่ง Toolbar Google SketchUp

เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Google SketchUp จะปรากฏแถบเครื่องมือ ชุด Getting Started เป็นเครื่องมือเริ่มต้นของ Google SketchUp ดังภาพ
  • การเคลื่อนย้ายตำแหน่งของ Toolbar 
เราสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งของเครื่องมือได้มีอิสระ ไม่ว่าจะเป็นด้านข้าง ด้านบนและด้านล่าง หรือวางในตำแหน่งพื้นที่การสร้างโมเดลได้ โดยคลิกที่ขอบของแถบเครื่องมือแล้วลากวางในตำแหน่งที่เราต้องการ ทั้งนี้ยังสามารถปรับขนาดของแถบเครื่องมือได้โดยการลากตรงขอบด้านบนของแถบ Toorbar


  • การเพิ่มแถบเครื่องมือ

แถบเครื่องมือของ Google sketchUp สามารถเพิ่มเติมหรือเรียกใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสามารถเรียกใช้เครื่องมือได้อย่างสะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้แถบเครื่องมือได้ดังนี้
        ไปที่ เมนู View ----> Toolbar ----> แล้วคลิกเลือกเมนูที่ต้องการ ในตัวอย่างจะเลือก Toolbar ของ Camera จะได้ผลดังภาพ



  • การบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือ
เมื่อเราเลือกวางตำแหน่งของชุดเครื่องมือตามที่เราต้องการแล้ว เราสามารถบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือได้โดย ไปที่ เมนู View ---> Toolbar--->Save Toolbar Positions ดังภาพ

เมื่อเราขยับชุดเครื่องมือเพื่อทำงาน แล้วต้องการให้เครื่องมือย้ายกลับไปตำแหน่งที่เรา Save ให้เราไปที่ เมนู View ---> Toolbar ---> Restore Toolbar Positions ดังภาพ

ภาพก่อน Restore Toolbar Positions
ภาพหลัง Restore Toolbar Positions 
หลังจากใช้คำสั่ง Restore Toolbar Positions เครื่องมือจะกลับคืนตำแหน่งที่เราทำการ Save Positions ไว้

วาดเส้นตรงด้วยเครื่องมือ Line


วาดเส้นตรงด้วยเครื่องมือ Line

          การวาดเส้นตรงในลักษณะต่างๆ
          เครื่องมือ Line เป็นเครื่องมือสำหรับวาดเส้นตรง สามารถเรียกใช้งานได้จาก ไอคอน     หรือเลือกจากเมนู View --- > Line หรือ กดคีย์ การวาดเส้นตรงด้วยเครื่องมือ Line จะมีรูปแบบการวาดเส้นตรงอยู่วิธีด้วยกันคือ

          1. Click – Move –Click เป็นการวาดเส้นตรงแบบการคลิกเม้าส์หนึ่งครั้งในตำแหน่งเริ่มต้นแล้วเลื่อนเม้าส์ไปยังตำแหน่งถัดไป แล้วคลิกเม้าส์อีกครั้ง วิธีนี้เมื่อปล่อยเม้าส์แล้วเลื่อนเม้าส์ไปยังตำแหน่งใดๆ จะมีเส้นตรงเชื่อมต่อจากปลายเส้นที่เพิ่งวาดไปตามเคอร์เซอร์ของเม้าส์ออกมาเสมอจนกว่าเส้นจะมีการบรรจบกันจนเกิดเป็นพื้นผิว

2. Click – drack – release เป็นการวาดเส้นตรงแบบการคลิกเม้าส์ในตำแหน่งเริ่มต้นค้างไว้แล้วลากไปปล่อยยังตำแหน่งที่ต้องการ วิธีนี้เมื่อปล่อยเม้าส์แล้วการวาดเส้นจะสิ้นสุดทันที


Tips:
เราสามารถเลือกกำหนดรูปแบบการวาดเส้นตรงได้ จาก เมนู Windows --- > Preferences จะปรากฏหน้าต่าง System Preferences --- > Drawing --- > Click Style โดยค่ามาตรฐานของโปรแกรมจะกำหนดรูปแบบการวาดเส้นตรงเป็นแบบ Auto detect ซึ่งสามารถวาดเส้นตรงได้ทั้งสองวิธีข้างต้น   ในขณะที่ทำการวาดเส้นตรง สามารถกดคีย์ ESC เพื่อยกเลิกการทำงานในขณะนั้นดังภาพ

การกำหนดความยาวของเส้นตรงใน Google SketchUp

การกำหนดความยาวของเส้นตรง หลักๆมี 2 วิธีดังนี้

          1. การกำหนดความยาวของเส้นด้วย Measurement
          ในขณะที่ใช้เครื่องมือ Line วาดเส้นไปในทิศทางต่างๆ ให้สังเกตที่เครื่องมือ Measurement จะเห็นว่าข้อความด้านหน้าของช่องกำหนดค่าจะเปลี่ยนเป็น  Length และในช่องกำหนดค่าจะแสดงตัวเลขตามระยะของเส้นที่ถูกลากไป เราสามารถกำหนดความยาวของเส้นด้วย Measurement ได้ด้วยกัน กรณีคือ
               1.1 กำหนดค่าในขณะที่ลากเส้นไปในทิศทางต่างๆ วิธีนี้หลังจากกำหนดค่าเสร็จจะยังคงมีเส้นเชื่อมต่อจากปลายเส้นตามเคอร์เซอร์ออกมา


                1.2 กำหนดค่าหลังจากที่วาดเส้นเสร็จแล้ว วิธีนี้จะทำให้การวาดเส้นสิ้นสุดลงทันทีไม่มีเส้นเชื่อมต่อออกมา แต่มีข้อแม้ว่าการกำหนดค่าจะต้องกำหนดหลังจากที่วาดเส้นเสร็จ โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือใดๆ ยกเว้นเครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการมุมมอง


          2. การปรับแต่งความยาวของเส้นด้วย Entity Info
          ในกรณีที่วาดเส้นเสร็จแล้ว แต่ลืมกำหนดความยาวของเส้นและมีการเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือใดๆแล้ว เรายังสามารถที่จะปรับแต่งความยาวของเส้นได้จากหน้าต่าง Entity Info โดยเรียกใช้จาก เมนู Window --- > Entity Info หรือ คลิกขวาที่เส้นที่ต้องการกำหนดค่า แล้วเลือก Entity Info โดยกำหนดค่าความยาวของเส้นได้จากช่อง Length

Window --- > Entity Info

คลิกขวาที่เส้นที่ต้องการกำหนดค่า แล้วเลือก Entity Info

กำหนดค่าความยาวของเส้นที่ช่อง Length

 Tips:
           เส้นที่สามารถปรับแต่งด้วย Entity Info ได้นั้น ปลายเส้นด้านใดด้านหนึ่งจะต้องไม่เชื่อมต่อกับเส้นใดๆ เราจะเรียกเส้นในลักษณะนี้ว่าเส้นเปิด และถ้าเส้นนั้นปลายเส้นทั้งสองด้านเชื่อมต่อกับเส้นใดๆ เราจะเรียกเส้นนั้นว่าเส้นปิด

องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp

องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp

          วัตถุหรือรูปทรงใน Google sketchUp  จะปรากฏไปด้วยเส้นและพื้นผิวเป็นหลัก โดยพื้นผิวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบรรจบกันของเส้นตั้งแต่ เส้นขึ้นไป ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราวาดเส้นมาบรรจบกันในระนาบเดียวกันก็จะเกิดพื้นผิวขึ้นภายในขอบเขตของเส้นเหล่านั้น และในส่วนของพื้นผิวเองจะมีด้วยกันอยู่ด้านคือ พื้นผิวด้านนอกและพื้นผิวด้านใน ดังภาพ

สร้างโมเดลบ้านแบบง่าย SketchUp

สร้างชิ้นงานชิ้นแรกโมเดลบ้านแบบง่าย

             สำหรับใบความรู้นี้ เราจะมาทอลองสร้างงานแบบง่ายๆกัน โดยใช้เพียงเครื่องมือพื้นฐานและเวลาเพียงไม่นาน เราก็จะได้บ้าน หลัง จากนั้นก็ปรับพร๊อปประกอบฉาก เพื่ออุ่นเครื่องการทำงานและการใช้เครื่องมือใน Google SketchUp8 ก่อนที่จะได้ทำงานที่ประยุกต์ขึ้นมา
             บ้านที่เราจะสร้างเป็นบ้านเดี่ยว หลังคาทรงจั่ว และมีองค์ประกอบเพิ่มเติมเล็กน้อย เพื่อประกอบฉากให้สมบูรณ์และมีเรื่องราวมากขึ้น ดังนี้
             จากภาพ เราจะแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น ขั้นตอนดังนี้
             ขั้นตอนที่ สร้างตัวบ้าน
             ขั้นตอนที่ ใส่ประตูและหน้าต่าง
             ขั้นตอนที่ ใส่สีสันให้กับบ้าน
             ขั้นตอนที่ ตกแต่งเพิ่มองค์ประกอบให้บ้าน
             ขั้นตอนที่ จัดแสงเงาตามช่วงเวลา
ขั้นตอนที่ สร้างตัวบ้าน
             ขั้นตอนนี้เราจะสร้างตัวบ้านเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม โดยจะมีส่วนประกอบหลัก ส่วนคือ
             ตัวบ้าน
             หลังคาบ้าน

             สร้างตัวบ้าน
             การสร้างตัวบ้านเป็นการการฝึกกำหนดขนาดและรูปทรงของโมเดล โดยมีขั้นตอนดังนี้
             1. การสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นฐานของบ้าน โดยใช้(Rectangle Tool)

                1.1 คลิกเมาส์เลือก (Rectangle Tool)                           ­
            1.2 คลิกเมาส์ลากเพื่อสร้างวัตถสี่เหลี่ยม  จะได้รูปสี่เหลี่ยมเป็นฐานของบ้า


                2. ใช้  (Push/Pull Tool) ดึงพื้นผิวของรูปสี่เหลี่ยมขึ้นมาเป็นตัวบ้าน


            2.1 คลิกเลือก (Push/Pull Tool)
            2.2 คลิกเมาส์บนพื้นผิวแล้วลากเมาส์ขึ้น            
            2.3 คลิกเมาส์อีกครั้ง เพื่อจบการดึงพื้นผิว เราจะได้ตัวบ้านเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม


             สร้างหลังคาบ้าน
             สำหรับหลังคาบ้าน เราจะใช้การวาดเส้นเข้ามาช่วยเพิ่มส่วนประกอบของบ้าน โดยจะลากเส้นตรงบริเวณกึ่งกลางรูปทรงสี่เหลี่ยม แล้วดึงเส้นนั้นขึ้นมา ให้เป็นหลังคาทรงจั่ว ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
             1. ใช้   (Line Tool) สร้างเส้นตรงแบ่งครึ่งด้านบนของสี่เหลี่ยม โดยให้แบ่งตามความยาว


                  1.1 คลิกเลือก Line Tool
                  1.2 คลิกเมาส์ตำแหน่งตรงกลาง (สังเกตจุดสีฟ้าและมีคำว่า Midpoint) แสดงว่าตำแหน่งนั้นอยู่กึ่งกลางด้านกว้างของสี่เหลี่ยม
                  1.3 ลากเมาส์ไปยังด้านกว้างอีกด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมแล้วคลิกเมาส์ที่กึ่งกลางของด้านนั้นจะเกิดเป็นเส้นตรงตามแนวขึ้นมา
             2. ใช้  (Move Tool) คลิกเลือกเส้นจากขั้นตอนที่ แล้วดึงเส้นขึ้นไปตามแนวแกนสีน้ำเงิน


                     2.1 คลิกเมาส์เลือก Move Tool
                     2.2 คลิกเมาส์ที่เส้น

                     2.3 คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากเมาส์ขึ้นตามแกนสีน้ำเงินจากนั้นคลิกเมาส์อีกครั้งเพื่อวาง


             3. ใช้  (Line Tool) อีกครั้งเพื่อสร้างเส้นรอบตัวบ้านทำเป็นขอบหลังคา 


                    3.1 คลิกเลือก  (Line Tool)
                    3.2 คลิกเมาส์บริเวณเส้นขอบของตัวบ้านจะปรากฏ แสดงว่าเราวางเมาส์บนเส้นขอบพอดี
                    3.3 คลิกเมาส์ที่ฝั่งตรงข้ามจุดในแนวยาวของตัวบ้านเพื่อสร้างเส้นรอบตัวบ้านเป็นขอบหลังคา
                    3.4 คลิกสร้างเส้นให้รอบตัวบ้านทั้งหมด
             4. ใช้ Push/Pull Tool ดึงด้านหน้าของหลังคาออกมาให้คลุมหน้าบ้าน

                   4.1 คลิกเลือก Push/Pull Tool
                   4.2 คลิกเมาส์บนพื้นผิวหลังคาด้านหน้า
                   4.3 ลากเมาส์ดึงพื้นผิวออกมาด้านหน้าเล็กน้อยแล้วคลิกเมาส์วางตำแหน่งพื้นผิว 

ขั้นตอนที่ ใส่ประตูและหน้าต่าง
            ขั้นตอนการใส่ประตูและหน้าต่าง โดยจะนำประตูและหน้าต่างมาจากโมเดลสำเร็จรูปใน Google SketchUp  ที่เตรียมไว้ให้เราเลือกใช้อยู่แล้ว โดยเรียกโมเดลนี้ว่า คอมโพเนนท์ Component

             1. เรียกโมเดลสำเร็จรูปขึ้นมาใช้งาน โดยเปิดไดอะล็อกบ๊อกซ์ Components ด้วยคำสั่ง Window ---> Components จากนั้นเลือกหมวดโมเดลเป็น Architecture ซึ่งเป็นหมวดเกี่ยวกับการสร้างงานสถาปัตย์

              2. โปรแกรมจะติดต่อกับ 3D Warehouse ให้เราเพื่อค้นหาโมเดลสำเร็จรูป ในที่นี้เราจะเลือกใช้งานประตูและหน้าต่าง ให้คลิกเลือกที่ DC Doors and Windows จากนั้นให้ปรับการแสดงชิ้นงานเป็นรูปแบบ Large Thumbnails เพื่อความสะดวกในการเลือก

                     2.1 คลิกเลือก Dc Doors and windows
                     2.2  คลิกปุ่ม   แล้วเลือก Large Thumbnailsจะแสดงตัวอย่างโมเดลเป็นไอคอนภาพ
               3. คลิกเลือกรูปแบบประตูที่ต้องการแล้วนำไปวางที่บ้าน ประตูสำเร็จรูปจะติดปลายเมาส์เมื่อเราลากเมาส์ออกจากไดอะล็อกบ๊อกซ์ และถ้าเราต้องการวางประตูในตำแหน่งใด ก็ให้คลิกเมาส์ ครั้ง ดังภาพ
             
               4. คลิกเลือกรูปแบบหน้าต่างที่ต้องการแล้วนำไปวางที่บ้าน หน้าต่างที่เลือกจะติดปลายเมาส์ไป เช่นเดียวกับประตู และถ้าเราต้องการวางหน้าต่างในตำแหน่งใด ก็ให้คลิกเมาส์ ครั้ง จากนั้นก็วางหน้าต่างได้ตามจำนวนที่เราต้องการ ในตัวอย่างวางไว้ บาน ดังภาพ

ขั้นตอนที่ ใส่สีสันให้กับตัวบ้าน
                 1. คลิกเลือก (Paint Bucket Tool) จะปรากฏหน้าต่าง Materials ขึ้นมา

                2 .  เลือกหมวด Colors เพื่อใช้สีพื้นกับบ้าน

             3.  คลิกเลือกสีและคลิกเทสีให้กับลังคา

            4. คลิกเมาส์ซ้ำบริเวณพื้นผิวที่ต้องการใส่สี

            5. คลิกเลือกสีและคลิกเทสีให้ตัวบ้าน
            6. คลิกเมาส์ซ้ำบริเวณพื้นผิวที่ต้องการใส่สี จะได้โมเดลดังภาพ


           
                การสร้างโมเดลบ้านแบบง่ายก็มีเนื้อหาเพียงเท่านี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกทำโมเดล เพราะได้ใช้เครื่องมือแทบทุกตัวเลย

การตั้งค่าที่จำเป็นก่อนเริ่มสร้างโมเดล


การตั้งค่าการใช้งาน Google SketchUp 

           ก่อนจะเริ่มการใช้งาน Google SketchUp เราควรที่จะรู้จักกับ Interface ของ Google SketchUp เมื่อเข้าสูโปรแกรมจะพบกับหน้าต่างออกแบบละส่วนของแถบเครื่องมือต่างๆ แยกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ซึ่งส่วนต่างๆเราจะสามารถตั้งค่าต่างๆก่อนเริ่มใช้งานโปรแกรม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่ามาตราส่วนหน่วยวัด การตั้งค่าคีย์ลัด รวมไปถึงพื้นที่การทำงาน



  • การเลือกเทมเพลตและการสร้างเทมเพลตใหม่
เริ่มต้นเมื่อเข้าเปิดโปรแกรม Google SketchUp ครั้งแรกโปรแกรมจะให้เราเลือก Template และมาตราส่วนหน่วยวัดที่ใช้ และเราควรที่จะเลือก Template ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งใน Google SketchUp Pro 8.0 จะมี Template ให้เลือกประมาณ 14 Template แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน


  • สร้าง Template Google SketchUp ตามสไตล์ของตัวเอง
หากเราต้องการสร้าง Template ตามที่เราต้องการ สามารถกำหนดได้เองตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) ไปที่เมนู Windows ---> Styles 

2) เลือก List รายการสไตล์ที่ต้องการ

3) คลิกเลือก โมเดลที่เราต้องการและเราสามารถกำหนดมาตราส่วนและหน่วยวัดของ Google SketchUp โดย เลือกเมนู Windows ---> Model Info


ขั้นตอนที่ 1 เลือก Unit
ขั้นตอนที่ 2 เลือก Format เลือก ประเภท Decimal , Precision เลือกตำแหน่งหน่วย 0.0000 
ขั้นตอนที่ 3 เลือก ปกติจะเลือกเป็นประเภท Centimeters 

4) เมื่อเลือกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว หากต้องการ Save Template ให้ไปที่ เมนู File --> SaveAs Template... จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ

กดปุ่ม Save เพื่อทำการ Save Template เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง Template

เมื่อเราเปิดโปรแกรม Google SketchUp เราสามารถเรียกใช้ Template ที่เราบันทึกไว้ ดังภาพ


  • การตั้งค่ามาตราส่วนและหน่วยวัด Google SketchUp
ในการสร้างและออกแบบโมเดลใน Google SketchUp เราสามารถกำหนดมาตราส่วนและหน่วยวัดได้ดั้งนี้
ไปที่ เมนู Windows ---> Model Info

ส่วนที่ 1 เลือก Unit

Length Unit
ส่วนที่ 2 เลือก ประเภทหน่วยวัด ซึ่งส่วนใหญ่ที่ใช้กันในการออกแบบโมเดลพื้นฐานจะใช้เป็น Decimal และเลือก Precision เป็น 0.0000 
ส่วนที่ 3 เลือกเป็น Centimeters ซึ่งเหมาะสำหรับการออกแบบโมเดลพื้นฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น