วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

Java script

Java script 

     JavaScript เป็นภาษาสคริปต์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาเขียน เพื่อเสริมคุณค่าให้งานการสร้างเว็บเพจให้มีคุณค่า และมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเว็บเพจเพื่อการทำ E-Commerce, Web database หรือ E-Learning ซึ่งงานเหล่านี้ถ้าใช้เพียงภาษาสคริปต์ PHP, ASP, JSP หรืออื่น ๆ จะเห็นว่าทำงานยังไม่สมบูรณ์ได้ดังใจ ผู้เขียนโปรแกรมมือใหม่ทั้งหลาย เมื่อเห็นการเขียนโปรแกรมของผู้อื่นตามเว็บต่าง ๆ รู้สึกว่างานของเขาที่ออกมาดีนั้น เขาเขียนกันอย่างไร เว็บนี้มีคำตอบให้ท่าน

Java Script ทำงานอย่างไร

    ถ้าพิจารณาการเขียนโปรแกรมบนเว็บทั้งหลายจะเห็นว่ามีการแปลภาษาอยู่  2 ลักษณะได้แก่ การแปลจาก Server Side ได้แก่ PHP, ASP, JSP กับการแปลจากเครื่อง Client หรือ Client-Side อันได้แก่ HTML, Java Script   

การเขียนโปรแกรม

    การเขียนคำสั่งของ Java script  ต้องเขียนร่วมกับภาษา HTML โดยแทรกอยู่ภายในระหว่างคำสั่ง  <Head>  กับ </Head>  หรือจะเขียนหลังจาก <Body> ก็ได้  การเขียนคำสั่งตัวอักขระพิมพ์เล็กและตัวอักขระพิมพ์ใหญ่ถือว่ามีความแตกต่างกัน (Case sensitive)

<HTML>
<HEAD>
<TITLE> Your Title   </TITLE>
   ------
   ------
</HEAD>
</HTML>


คำสั่งการเขียนสคริปต์ของ Java Script  เริ่มต้นด้วย

<script language="JavaScript">
   --------
   --------

และลงท้ายด้วย
</script>
มาดูตัวอย่างแรกของการเขียน Java Script
<html>
<head>
<title>This is a JavaScript example</title>
<script language="JavaScript">
<!--
document.write("Hello World!");
//-->
</script>
</head>
<body> สวัสดี ! </body>
</html>

ภาพที่ 1 ผลการทำงานของโปรแกรม
Tips

เมื่อพิจารณาจาก คำสั่ง

<!--

document.write("Hello World!");

//-->

    เครื่องหมาย  <!--  และ //-->  ถ้าในคำสั่งของ Tag HTML เป็น Comment แต่ใน Java Script เพื่อรองรับ browser รุ่นเก่าที่ไม่รองรับ Java Script ซึ่งถ้าเราเขียนคำสั่งโดยไม่มีเครื่องหมาย  <!--   ก็ได้  แต่จะมี Dialog Box ที่จะเตือนขึ้นมาถ้าหาก Browser รุ่นที่ไม่รองรับคำสั่งนั้น ๆ นักเขียนมืออาชีพจะนิยมใช้และผมขอแนะนำให้ใช้ครับ


คำสั่งเขียนข้อความบนจอภาพ

    ในการเขียนข้อความให้แสดงที่จอภาพ  มีการเขียนได้สองคำสั่ง คือ  write(“ข้อความ) และคำสั่ง writeln(“ข้อความ”)  ดูตัวอย่างจากคำสั่งต่อไปนี้ 

<HTML>
<HEAD>
<TITLE> Welcome </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<SCRIPT LANGUAGE="JAVASCRIPT">
<!--
document.write("ยินดีต้อนรับสู่  Java Script Tutorial!");
// -->
</SCRIPT>
</BODY>
</HTML> 

    ความแตกต่างระหว่าง write() และ writeln() นั้นคือ  write เป็นการเขียนที่จอภาพ  ส่วน writeln เป็นการเขียนที่จอภาพและขึ้นบรรทัดใหม่ 

Document object

    Document เป็นหนึ่งใน object พื้นฐานที่ใช้กันมากของ Java Script  จากคำสั่ง

document.write("ยินดีต้อนรับสู่  Java Script Tutorial!");
document เป็น Object ส่วน write เป็น Method  ของ Object document เราต้องจะใช้เครื่องหมาย . คั่นระหว่าง Object กับ Method    นอกจากนี้ยังมี Method อื่น ๆ อีกมาก ได้แก่

·       Method lastModified  ดูตัวอย่างต่อไปนี้ 

<script language="JavaScript">
document.write("สวัสดี  ยินดีต้อนรับ Java Script Tutorial ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ :" + document.lastModified);
</script> 


    การใช้ Method lastModified เพื่อแสดงให้ผู้ชมเว็บทราบว่า เว็บของเรานั้นปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อใด เราจะต้องใช้เครื่องหมาย + ในการเชื่อม object ทั้งสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น