วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเริ่มต้นเขียนโปรแกรม

การเริ่มต้นเขียนโปรแกรม

       : เริ่มต้อง learning by doing ที่ไม่ไปเน้นกับ syntax หรือ structure แต่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพโปรแกรมที่สั้น เข้าใจง่าย นั่นคือ การพิมพ์ 1 ถึง 10 หรือ สูตรคูณ หรือ ปิรามิดของตัวเลข ที่ต้องฝึกใช้ Structure Programming ให้ชำนาญ ส่วน syntax นั้นให้ไปอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียดด้วยตนเอง บ่อยครั้งที่ feed back คือ "เสียงบ่นว่าไม่ชอบเขียน ไม่มีประโยชน์" หรือ "เขียนไม่ได้ ถึงเขียนได้ ก็ไม่รู้จะเขียนไปทำไม จึงไม่เขียน" แล้วก็ต้องอธิบายย้ำว่า การเริ่มต้นแบบนี้ "ทำให้รู้จักควบคุมโปรแกรม กำหนดขั้นตอนการทำงานตามหลักการโปรแกรมแบบมีโครงสร้างได้ดีขึ้น รู้จักเรียนรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งรู้จักแก้ไข Syntax พื้นฐานไม่ให้ผิดพลาด เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเขียนโปรแกรมในระดับต่อไปได้"
    เริ่มต้นเขียนโปรแกรมทำอย่างไร (จากหนังสือ พื้นฐานเว็บมาสเตอร์บทที่ 17)
  1. เลือกภาษา สำหรับนักศึกษานั้นง่ายที่จะเลือก เพราะอาจารย์คอยชี้แนะ
  2. หาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากห้องสมุด ถ้าท่านไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย คงนึกโครงสร้างภาษาไม่ออกเป็นแน่
  3. หาตัวแปลภาษา ทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา บางภาษามี Free compiler
  4. เขียนโปรแกรมตัวแรกที่ง่าย เช่น พิมพ์ hello world
  5. ศึกษาการทำซ้ำ และการเลือกตามเงื่อนไข เช่น พิมพ์สูตรคูณ หรือพิมพ์ 1 ถึง 10
  6. ติดต่อแฟ้มข้อมูล เพื่ออ่านมาแสดงผล หรือปรับปรุงข้อมูลได้
  7. เขียนเมนู เพื่อเลือกกระทำโปรแกรมตามตัวเลือก
  8. ทำรายงานจากการเชื่อมแฟ้มหลายแฟ้ม โดยกำหนดได้หลายตัวเลือก
  9. เขียนโปรแกรมเพิ่มข้อมูล เช่น ซื้อ ขาย ยืม คืน หรือ ระบบทะเบียนสมาชิก
  10. สร้างโปรแกรมขึ้นมาหนึ่งระบบที่ตอบความต้องการของผู้ใช้
    ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม (Steps in Program Development) #
  1. ศึกษาความต้องการของโปรแกรม (Program Requirements)
  2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
  3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
  4. การตรวจสอบข้อผิดพลาด และแก้ไขโปรแกรม (Program Debugging)
  5. การทดสอบโปรแกรม (Program Testing)
  6. การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น